Popular Posts

Tuesday, December 06, 2005

ประสบการณ์เฉียดตายที่ความลึก ๒๖ เมตรคนเดียว (ภาค ๒)


ผมรู้สึกปวดหัวเป็นอย่างยิ่ง ราวกับเพิ่งตื่นมาพร้อมกับอาการแฮงค์หนักๆ
เสียงไดว์คอมพิวเตอร์ที่ร้องดังขึ้นเรื่อยๆ บอกให้รู้ว่าผมได้หายใจเร็วกว่าระดับปรกติ

ผมจึงพยายามบังคับตัวเองให้หายใจช้าลงแต่นั่นมันยิ่งกลับทำให้ผมเข้าใกล้สภาวะหมดสติมาก ขึ้นไปอีก

ในวินาทีนั้นสิ่งเดียวที่อยู่ในความคิดของผม คือจะทำอย่างไรให้ขึ้นมาสู่ผิวน้ำ



...........................แล้วไม่ตาย

แต่มันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด ที่ความลึกในระดับนั้นกว่าจะขึ้นมาสู่ผิวน้ำได้อย่างปลอดภัย ก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสองนาที
มันดูไม่นานเลย แต่มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับคนที่ใกล้จะสลบเหมือดอยู่เต็มที

สติสัมปชัญญะที่จำกัดทำให้ผมแทบจะเคลื่อนไหวไม่ได้
ผมกำลังจะควบคุมตัวเองไม่ได้
ผมยอมรับตรงๆว่ากลัว

...................................................................................

ในวินาทีแห่งความเป็นความตายนั้นความคิดที่สำคัญยิ่งได้ผุดขึ้นมา
.
.
.
สิ่งที่สำคัญที่สุดของจอมยุทธ์ คือ การมีจิตใจที่ยิ่งใหญ่
ฉันใดก็ฉันนั้น หัวใจของการดำน้ำคือการควบคุมการลอยตัว
.
.
แล้วแม่งเกี่ยวกันตรงไหนวะ
แต่ก็ช่างแม่งเถอะ เอาเป็นว่ายังไงกูก็จะต้องหาทางขึ้นและโดยปรกติขั้นตอนในการขึ้นสู้ผิวน้ำคือ
ก. เอาลมออกจากชูชีพ เพื่อให้จมจะได้ไม่ลอยขึ้นมาเร็วเกินไป
ข. ว่ายขึ้นมาอย่างช้าๆด้วยความเร็วไม่เกิน 18 เมตรต่อนาที

ดังที่กล่าวไว้ผมไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ว่ายขึ้นมาได้
ดังนั้นจึงต้องขึ้นมาด้วยการทำให้ร่างการมีการลอยตัวเป็นบวก หรือ พูดง่ายๆว่าทำให้ตัวแม่งลอยขึ้นมา

ภาพอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวราคาแพงระยับและเข็มขัดตะกั่ว ผุดขึ้นมาในความคิดของผม
ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่า อาจจะใช้อุปกรณ์สองชิ้นนั้นส่งตัวเองขึ้นสู่ผิวน้ำในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ได้

.........................แล้วสิ่งที่ผมจะต้องตัดสินใจในวิธีนั้นคือ จะใช้อุปกรณ์ตัวไหนดี

เอาลมเข้าชูชีพ..............ก็ลอย

ปลดตะกั่วทิ้ง...............ก็ลอย


ด้วยความเก๋า ในวินาทีวิกฤตเยี่ยงนั้นมหาปรมาจารย์ขวัญจึงเดินลมปราณย้อนกลับแล้วจึงบรรลุวิชาด้วยความอัจฉริยะ
เอ้ยไม่ใช่ยังเสือกอุตส่าห์เสือกคิดออกว่า..

ถ้าปลดน้ำหนักทิ้งก็จะลอยขึ้น แต่จะไม่สามารถควบคุมความเร็วได้ ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ไม่ค่อยจะปลอดภัยเท่าไร..............

แล้วถ้าเสือกไม่ตายก็ต้องไปเสียตังซื้อน้ำหนักมาใหม่

ถ้าเติมลมเข้าชูชีพก็จะลอยขึ้น แต่ถ้าเร็วเกินไปก็ยังเอาลมออกเพื่อให้หยุดได้

ผมมีเวลาเลือกไม่มากเพราะใกล้จะร่วงอยู่เต็มที แน่นอนผมเลือกวิธีหลัง
ซึ่งผมก็ยังแปลกใจอยู่จนถึงวินาทีนี้ว่าตอนนั้นผมคิดออกได้ยังไง

บางทีคำกล่าวที่ว่าคนเลวๆแม่งตายยากอาจจะใช้ได้กับผม

ผมเริ่มเติมลมเข้าชุด แล้วปล่อยให้ตัวลอยขึ้นมา แต่ปัญหาคือการควบคุมความเร็วในการขึ้น....

กรุณาดูจากรูปที่ลงไว้ที่โฟโต จะเห็นว่าผมขึ้นมาค่อนข้างเร็วจนไดว์คอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณเตือนออกมา
นอกจากมันจะเตือนให้ผมรู้ว่าผมได้ขึ้นมาเร็วกว่าอัตราปรกติแล้ว การส่งเสียงของมันยังช่วยปลุกให้ผมตื่นด้วย

ผมแทบไม่รู้สึกตัวในขณะที่ขึ้นสู้ผิวน้ำจนกระทั่งผมมาอยู่ที่ความลึกประมาณ 5 เมตร อาการมึนหายไป
ผมจึงหยุดอยู่ที่ความลึกนั้นเพื่อทำการปรับความดันและขับก๊าซไนโตรเจนออกไป จากนั้นจึงขึ้นสู้ผิวน้ำ

ไม่นานนักเรือก็มารับ เป็นครั้งแรกที่ผมคิดอย่างจริงจังว่าควรจะเลิกดำน้ำดีไหม

จากนั้นผมเตรียมระบบออกซิเจนฉุกเฉินทันที เพื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับตัวเอง

(อากาศที่นักดำน้ำแบบสันทนาการใช้ คือ อากาศธรรมดาที่อยู่รอบตัว ประกอบด้วย ออกซิเจน และไนโตรเจน
ก๊าซแรกถูกใช้ไปกับกระบวนการเผาผลาญอาหาร ส่วนอีกชนิดเป็นก๊าซเฉื่อยจึงสะสมอยู่ในร่างกาย
ดังนั้นจึงต้องหายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ เพื่อขับไนโตรเจนออกมา)

ผมนอนสูดอยู่สักพัก ลูกค้าบางคนก็เริ่มมาถามด้วยสีหน้าวิตกว่าเกิดอะไรขึ้น ผมตอบนิ่มๆว่า

แค่อยากทดสอบระบบว่าทำงานได้ดีแค่ไหน เพราะเราอยู่ไกลฝั่งต้องตรวจความพร้อมให้แน่ใจ.....

ผมเฝ้าดูอาการอีกสักพักจนแน่ใจว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แล้วก็กลับไปทำงานต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ผมดำอีก 3 ไดว์ ที่ความลึกสูงสุด25 23 24 เมตร ตามลำดับแต่ก็ไม่มีอะไรแบบนั้นเกิดขึ้นอีก

จนกระทั่งวันต่อมาผมต้องไปดำที่หินหัวช้างซึ่งเป็นจุดดำน้ำที่ลึกที่สุดจุดหนึ่งหมู่เกาะในสิมิลัน

ผมลงไปเรื่อยๆจนเกือบถึงพื้นซึ่งตอนนั้นผมอยู่ที่ความลึก 33 เมตรแล้ว อาการเมื่อวานกลับมาอีกครั้ง
แต่คราวนี้ผมรู้แล้วว่ามันคืออาการควยไร

อาการที่น่าจะเป็นไปได้ คือ การเมาไนโตรเจน หรือ ออกซิเจนเป็นพิษ
แม้ว่าทั้งสองอาการจะเกิดขึ้นเมื่อนักดำน้ำลงสู่ความลึกมากๆ และจะหายไปเมื่อขึ้นสู้ผิวน้ำ
แต่ผมก็ให้น้ำหนักกับอาการแรกมากกว่า เพราะถ้าเป็นอาการหลังผมอาจจะไปเกิดใหม่ไปแล้วก็ได้

กลับเข้าเรื่องต่อ

ผมหันกลับไปหานักดำน้ำในกลุ่มพร้อมส่งสัญญาณให้ขึ้น พอขึ้นมาสัก 10 เมตร
อาการเมื่อครู่ก็หายไปเหมือนกับว่าไม่มีเคยอะไรเกิดขึ้น แล้วก็ทำการดำน้ำต่อไป

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผมรู้ว่าผมไม่ควรลงน้ำที่ระดับความลึกประมาณ 30 เมตร
เพราะจะเกิดอาการเมาอากาศ ซึ่งก็เป็นปัญหาสำหรับการทำงานของผมอยู่ไม่น้อย
แต่อย่างไรก็ตามผมก็ได้บทเรียนไม่น้อยจากเหตุการณ์ในครั้งนี้

โดยเฉพาะการดำน้ำคนเดียวซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

เพราะถ้าเมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นแล้วไม่มีใครสามารถช่วยเราได้
และนักดำน้ำนอกจากว่าจะต้องมีสตางค์ก็ต้องมีสติอยู่เสมอ
เพื่อจะได้สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น และควรทบทวนความรู้อยู่เสมอ
จะได้สามารถตอบสนองกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

1 comment:

Anonymous said...

เฮ้ย blog เจ๋งดีนี่หว่า ท่าทางมึงนี่น่าจะเป็นนักเขียนได้สบายๆเลยนะ เออ.. เป็นไงบ้างวะ ไปเป็นครูสอนดำน้ำตั้งแต่เมื่อไหร่น่ะ ว่างๆเมลล์มาหากันก็ดีนะเว้ย จากกูเอง ณัฐ ศรีธีระวิศาล ยังคิดถึงมึงไอ้ขวัญเสมอ nutella2u@hotmail.com