อยากเห็นฝูงปลา ปลาใหญ่ๆ สัตว์หน้าตาแปลกๆ ปะการังสวยๆ น้ำใสๆ ฯลฯ
จนเมื่อห้าปีที่แล้ว
ผมพบว่าเราแม้ว่าจะไม่มีสิ่งเหล่านั้น
เรายังสามารถมีความสุขกับการดำน้ำได้
![](http://photos1.blogger.com/blogger/57/1675/320/%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F.jpg)
เพียงแค่เราได้ลงไปลอยอยู่กลางน้ำ
มองดูฟองอากาศที่ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ
ฟองอากาศเล็กๆ ที่เราหายใจออกมา
ค่อยๆ ลอยขึ้น และโตขึ้นทีละนิดๆ
จนแตกออกมาเป็นหลายๆ อัน
แล้วก็ค่อยๆ ลอยขึ้น และโตขึ้นอีก
แล้วก็แตกออกมาอีกเป็นกลุ่มฟอง
มันเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงผิวน้ำ
หลายคนอาจเคยเห็นสิงห์อมควัน
พ่นก๊าซสีเทาออกมาเป็นรูปวงแหวน
หรือ ที่เรียกกันจนติดปากว่าทำโดนัท
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า
เราสามารถทำโดนัทเมื่ออยู่ใต้น้ำได้เช่นกัน
และฟองอากาศรูปวงแหวนนี้
จะค่อยๆ โตขึ้นๆ เช่นเดียวกับฟองอากาศ
ที่เราหายใจออกมา
แล้วก็แตกออกเป็นกลุ่มฟองในที่สุด
ที่สภาวะเสมือนไร้แรงโน้มถ่วง
จะตีลังกากลับหัวกลับหางอย่างไรย่อมทำได้
หลายสิ่งที่ทำไม่ได้บนบก เป็นไปได้ที่นี่
เราสามารถลอยหรือจมได้ดังใจ
เมื่อเราหายใจเข้าปริมาตรปอดจะเพิ่มมากขึ้นเราก็จะลอย
และเมื่อเราหายใจออกปริมาตรปอดจะลดลงเราก็จะจม
มันเป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแค่มีความคุ้นเคยกับมัน
ณ เวลานั้นผมเรียกสิ่งนี้ว่า “ความสนุกกับสภาวะใต้น้ำ”
.
.
.
มีความคิดและความรู้สึกมากมายเกิดขึ้นเมื่ออยู่ใต้น้ำ
แต่ที่น่าเสียดายคือมันนึกออกเฉพาะตอนที่อยู่ใต้เท่านั้น
ผมดำน้ำมานานพอสมควร แต่แทบจะไม่เคยบันทึกเรื่องนี้เอาไว้
แล้วก็ไม่ค่อยคุยกับใครเรื่องนี้ด้วย
เหตุผลง่ายๆ คือ...พอขึ้นมาแล้วมันก็ลืม
จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วขณะที่ผมกำลังดำน้ำอยู่ที่กองชุมพร
ปลาขนาดใหญ่มากตัวหนึ่งได้ว่ายเข้ามาอย่าช้าๆ
ปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ ที่เราเรียกว่า ฉลามวาฬ
ได้ปรากฏให้พวกเราได้เห็นในระยะใกล้ๆ
แม้ว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้สัมผัสกับมัน
แต่มันก็กว่าสี่ปีแล้วที่ผมไม่เคยได้เห็นอีกเลย
ความประทับใจในอดีตวาบขึ้นมา
มันชัดเจน และรุนแรง จนมิอาจจะเชื่อว่า
ราวกับว่ามันเพิ่งจะเกิดขึ้น
ความรู้สึกในวันนั้นมีพลังมากพอจนยากจะลืม แม้ขึ้นสู่ผิวน้ำแล้ว
และยังเตือนให้เราไม่ลืมว่า มีความรู้สึกบางอย่างที่เราสัมผัสได้ยามที่เราอยู่ใต้น้ำเท่านั้น
ซึ่งในยามปรกติเราไม่อาจสัมผัสได้
รู้เพียงแต่ว่ามีความรู้สึก แต่ไม่สามารถสัมผัสได้ว่าความรู้สึกนั้นเป็นอย่างไร
นอกเสียจากว่าเราสามารถถ่ายทอดออกมาได้ในวินาทีนั้น
.
.
.
ผมจึงเรียกมันว่า “ความทรงจำในโลกใต้น้ำ”